วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Framework Management Tool Box : EVA

Framework Management Tool Box : EVA
ด้าน Controlling

EVA หรือ Economic Value Added เป็นเครื่องมือวัดผลการดำเนินงานของธุรกิจในเชิงเศรษฐศาสตร์ พัฒนาขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1980’s โดยบริษัทที่ปรึกษาอเมริกัน Stern Stewart Consulting Group เป็นการให้ความสำคัญมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์และการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจ
EVA แสดงให้เห็นถึงผลกำไรที่แท้จริงของกิจการ โดยหักต้นทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น หรือส่วนของเจ้าของ (Cost of Equity) ที่เราเรียกกันว่าต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ของกิจการออกไปด้วย นอกเหนือจากการหักต้นทุนในส่วนของหนี้สิน(Cost of debt)ไปแล้ว ผลกำไรที่แท้จริงตัวนี้จะแสดงให้เห็นว่า ผลการดำเนินงานของธุรกิจนั้น ๆ มีทิศทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ(Creating value of the firm) หรือกำลังทำให้มูลค่าของธุรกิจลดน้อยลง(Destroying value of the firm) หาก EVA ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงว่า การบริหารงานของธุรกิจนั้นประสบความสำเร็จ และสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้น(Shareholders’ wealth)ทำให้ผู้ถือหุ้นเกิดความพอใจ
นอกจาก EVA จะเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการบริหารงานแล้วยังเป็นเครื่องมือในการสร้างระบบผลตอบแทนที่จูงใจ ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้บริหารตัดสินใจบริหารจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ธุรกิจ และสร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น (Maximize shareholders’ wealth) ทั้งบริษัทเอกชน และหน่วยงานของรัฐฯ

สูตรการคำนวณ EVA

 EVA = NOPAT - (WACC X INVESTED CAPITAL) บาท
หรือ = (ROIC - WACC) X INVESTED CAPITAL บาท
เพราะ ROIC = NOPAT / INVESTED CAPITAL %

คำจำกัดความของตัวประกอบสูตร

NOPAT = กำไรจากการดำเนินงานกำไรจากการดำเนินงานหลังหักภาษี (Net Operating Profit after Tax) WACC = ค่าเฉลี่ยต้นทุนการลงทุนของกิจการ (Weighted Average Cost of Capital)
= [(D/D+E) x Kd] + [(E/D+E) x Ke]
D = เงินกู้ยืมของกิจการ (Company’s long-term loans)
E = มูลค่าตลาดในส่วนของผู้ถือหุ้น (Market value of company’s equity)
Kd = อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของกิจการ (Cost of Debt: average interest rate of loans or debt
Outstanding)
Ke = อัตราผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นต้องการจากการลงทุน (Cost of Equity: Opportunity Cost:
Required Return on equity)
Invested Capital = เงินลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ขององค์กรในการทำธุรกิจ เงินลงทุนในเงินทุนหมุนเวียน
(Investment in Working Capital) + เงินลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Investment in Non Current Assets) ROIC = Return on Invested Capital ผลตอบแทนจากการลงทุน

EVA มีความสำคัญกับธุรกิจอย่างไร

 -  EVA ชี้ให้เห็นต้นทุนที่แท้จริงของธุรกิจ(Capital charge) เนื่องจากในการคำนวณหาค่า EVA       ต้องนำทั้งต้นทุนของการกู้ยืม และต้นทุนในส่วนของเจ้าของหรือผู้ถือหุ้น(ต้นทุนค่าเสียโอกาส: Opportunity Cost) มาคำนวณด้วย ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก เพราะในทางปฏิบัติของการปิดบัญชีประจำปีเพื่อสรุปผลกำไรในปีที่ผ่านมา สมมติว่ามีกำไรสุทธิเป็นตัวเลขแสดงให้เห็นก็จริง แต่ผลการดำเนินงานดังกล่าวนั้นอาจจะทำให้มูลค่าของธุรกิจลดลงไปเรื่อย ๆ ก็ได้ เหตุเพราะผลกำไรที่ได้มานั้น ยังไม่ได้หักต้นทุนในส่วนของเจ้าของออกไปด้วย(ต้นทุนค่าเสียโอกาส: Opportunity Cost)
 - EVA เป็น Indicator ที่แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการบริหารงานของธุรกิจ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น หรือลดน้อยลง(Creating or destroying value) หากผลลัพธ์ของ EVA ในรูปตัวเงินลดลงไปเรื่อย ๆ ชี้ให้เห็นว่าในอนาคตธุรกิจไม่สามารถจัดหาเงินทุนได้ และไม่สามารถอยู่รอดได้ในระยะยาว เพราะการที่มูลค่าของธุรกิจลดลงไปเรื่อย ๆ แสดงว่าธุรกิจไม่สามารถหาผลตอบแทนอย่างพอเพียงให้กับเจ้าของเงินทุน(Suppliers of capital) ทำให้ความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้นลดลง ซึ่งส่งผลต่อราคาตลาดของหุ้น(Share price) ให้ลดลงด้วย
 - Concept ของ EVA ง่ายต่อการอธิบายและการทำความเข้าใจให้แก่ผู้บริหาร ทำให้ผู้บริหารให้ความสำคัญในเรื่องของการจัดการสินทรัพย์ เช่นเดียวกับการหารายได้ เปน็ ผลให้เกิดการ Tradeoffs ระหว่างต้นทุนกับรายได้ เพราะหากขาดประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ ก็ไม่สามารถสร้างรายได้มากพอที่จะคุ้มกับต้นทุนที่ลงไปในสินทรัพย์นั้นๆ ตัวอย่างเช่น บริษัท BRIGGS & STRATTON เมื่อนำ CONCEPT EVA มาใช้บริหารงาน ทำให้ค้นพบว่าถ้าจัดหาเครื่องจักร และ Model จากภายนอกแทนที่จะผลิตเอง สามารถทำให้กำไรจากการดำเนินงาน(Operating Profits) สูงขึ้น ในขณะที่ใช้เงินลงทุนลดลง
 - ปรับเปลี่ยนระบบบริหารจัดการเพื่อให้กลยุทธ์ การจัดสรรทรัพยากร และการบริหารผลงาน มุ่งเน้นการสร้างมูลค่า
 - สร้างแรงจูงใจให้ผู้บริหารสร้างมูลค่าโดยเชื่อมโยงผลตอบแทนกับการสร้างมูลค่า ---> ให้ผลตอบแทนแก่ผู้บริหารตาม EVA Improvementในอนาคต
 - ปรับเปลี่ยนทัศนคติองค์กรผ่านการอบรม การฝึกฝน และการสื่อความเพื่อให้ผู้บริหารมีลักษณะเป็นเจ้าของกิจการ ระมัดระวังการใช้จ่ายเงินทุนและมุ่งเน้นมูลค่า


รวบรวมข้อมูลโดย : พีระวัฒน์  ชาติพฤกษพันธุ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น